วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560

ร่วมถวายความอาลัยกับการเสด็จสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย

ขอน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และ ร่วมถวายความอาลัยกับการเสด็จสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระผู้เสด็จสู่สวรรคาลัย 
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า โกยูนิ และ โกยูนิ ประเทศไทย

                                      (FILES) This file picture released by the Thai Royal Bureau taken on December 5, 2007 shows Thai King Bhumibol Adulyadej waving to the crowds during his 80th birthday celebrations at the Grand Palace in Bangkok. Thailand's Foreign Minister Kasit Piromya while in Washington on April 12, 2010 issued a rare call for a debate on the role of the revered monarchy in the political process, following the country's worst civil violence in almost two decades. The monarchy's role remains one of the most sensitive subjects in the kingdom, where violent clashes on April 10 between the army and anti-government "Red Shirts" left 21 people dead. RESTRICTED TO EDITORIAL USE AFP PHOTO/Thai Royal Bureau/HO / AFP PHOTO / Thai Royal Bureau / Thai Royal Bureau
สองสามวันที่ผ่านมานั้นถือเป็นวันที่โศกเศร้าสำหรับคนไทยเป็นอย่างมาก หลังจากที่สำนักราชวังแถลงการณ์การสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา… ถึงแม้ว่าคนไทยหลายๆคนจะไม่ได้อยู่ในประเทศไทยในวโรกาสนี้  เเต่คนไทยที่อาศัยอยู่ที่นี่และคนอังกฤษก็ได้แสดงความเสียใจต่อพระมหากษัตริย์ของเราในรูปแบบที่หลากหลาย วันนี้ GoUni ได้รวบรวมเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา หรือ กำลังเกิดขึ้นเกี่ยวกับการสวรรณคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลในประเทศอังกฤษมาให้ชาวโกยูนิได้อ่านกัน..
การรายงานข่าวการสวรรคต
การรายข่าวเรื่องการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้นปรากฏให้เห็นทั่วสารทิศในสหราชอาณาจักร เพราะนอกจากที่ในหลวงของเรานั้นเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์นานที่สุดในโลกแล้ว กษัตริย์ไทยของเรายังเป็นที่รักของประชาชนทั้งชาวไทยเเละชาวต่างชาติเป็นอย่างมากอีกด้วย เนื่องจากคุณงามความดีที่ในหลวงของเราทรงทำให้เเก่ประชาชนชาวไทย  คุณสามารถอ่านรายงานข่าวเกี่ยวกับการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศที่เขียนโดยองค์กรข่าวต่าง ๆของประเทศอังกฤษ ได้ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น BBC, The Guardian หรือ The Telegraph

เกิดอะไรขึ้น?
บุคคลสำคัญของสหราชอาณาจักรได้ออกมาแสดงความเสียใจของพวกเขาที่มีต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลในพระบรมโกศมากมายตามช่องทางต่างๆ ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทยนั้นดีมายาวนานเเละยังมีวี่เเววว่าจะดีเเบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
ควีนอังกฤษ ส่งพระราชสาส์น แสดงความเสียพระราชหฤทัย ถึงสมเด็จพระราชินีฯ
จากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ระบุว่า  ควีนเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงส่งพระราชสาส์นเป็นการส่วนพระองค์มาถึงสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ แสดงความเสียพระราชหฤทัยต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชวงศ์ของอังกฤษและไทยได้พบกันในหลายต่อหลายครั้งเเละได้มีพันธไมตรีที่ดีต่อกันอย่างเรื่อยมา โดยในปีพุทธศักราช 2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินีแห่งประเทศไทยได้เข้าเยี่ยมราชวงศ์เเห่งสหราชอาณาจักร

นอกเหนือจากราชวงศ์เเล้ว นักการเมืองอังกฤษยังได้แสดงความเสียใจต่อการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศอีกด้วย หนึ่งในนั้นคือนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร Theresa May ที่ได้เเถลงการณ์ความเสียใจต่อประเทศไทย มีเนื้อหาดังนี้
“I would like to express my sincere personal condolences to the Royal Family and the people of Thailand on the death of His Majesty King Bhumibol Adulyadej.”
“His Majesty guided the Kingdom of Thailand with dignity, dedication and vision throughout his life. He will be greatly missed.”
“Our thoughts are with the people of Thailand at this difficult time.
อาคารรัฐบาลในสหราชอาณาจักรได้มีการลดธงลงเหลือครึ่งเสาเพื่อเป็นการเเสดงถึงความไว้อาลัยการจากไปของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 13 ถึงวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม ที่ผ่านมา
นอกเหนือจากบุคคลทางการเมืองเเล้ว สโมสรฟุตบอลอย่าง Leicester City ก็ได้เเสดงความเสียใจต่อการสวรรณคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาก่อนลงเเข่งนัดสำคัญของพวกเขา โดยในปี พ.ศ. 2554 ที่ผ่านมา สโมสรเลสเตอร์ซิตี้นั้นได้รับการประทับตราอนุมัติจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชหลังจากที่สโมสรได้ถูกซื้อโดยมหาเศรษฐีไทย วิชัย ศรีวัฒนประภา


หรือแม้กระทั่งลิเวอร์พูล สโมสรฟุตบอลชื่อดังจากเกาะอังกฤษ ได้มีการขึ้นข้อความภาษาไทย รำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ที่แบนเนอร์ในสนามแอนฟิลด์ในการแข่งขันกับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ในวันที่ 17 ตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา โดยมี จอร์แดน เฮนเดอร์สัน กัปตันทีม ในนามตัวแทนสโมสรลิเวอร์พูล แสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
“On behalf of everyone at Liverpool Football Club, the players and staffs. We would like to pay our respect to the king of Thailand. Our thoughts are over with our fans in Thailand at this time.”

ฃมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง?
สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอนได้จัดมีการจัดสมุดลงนามถวายความอาลัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศตั้งเเต่วันที่ 14 ตุลาคม เป็นต้นไป ในเวลาทำการ 9.30 จนถึง 16.30 (ทุกวัน ไม่ยกเว้นวันหยุดราชการ) ที่ผ่านมานั้นได้มีคนไทยรวมทั้งชาวต่างชาติร่วมกันใส่เครื่องเเต่งกายสีดำมาลงลายมือชื่อในหนังสือและกราบพระบรมฉายาลักษณ์ในลักษณะเงียบเสำรวม รวมไปถึงนักเรียนไทยในอังกฤษ และ น้องๆนักเรียนของโกยูนิหลายคน ที่ได้มาร่วมเขียนแสดงความรู้สึกและความทรงจำของพวกเขาที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9

วัดพุทธปทีป ณ กรุงลอนดอน รวมไปถึงวัดไทยอื่น ๆ ทั่วประเทศอังกฤษและไอร์แลนด์เหนือนั้นได้มีการดำเนินจัดพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมโกศ โดยทางวัดจะจัดพิธีสวดอภิธรรมเป็นเวลา 7 วัน (ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม จนถึง 20 ตุลาคม 2559)

มหาวิทยาลัยต่างๆในสหราชอาณาจักรได้ส่งข้อความเเสดงความเสียใจให้เเก่นักเรียนนักศึกษาไทยที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยนั้นๆ รวมไปถึง De Montfort University และมหาวิทยาลัย โรงเรียนภาษา Partner ของ GoUni อีกหลายแห่ง ที่ได้ส่งข้อความเเสดงความเสียใจของพวกเขาต่อเหตุการณ์นี้ให้กับทีม GoUni ของเรา
เราเห็นได้ว่าปฎิกิริยาของคนทั่วโลกที่มีต่อการสวรรณคตของในหลวงของเรานั้นเต็มไปด้วยความเคารพเเละโศกเศร้าเสียใจ  สื่อให้เห็นถึงความรักและผูกพันของพสกนิกรชาวไทยต่อในหลวงเราไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในโลก วันนี้ราชอาณาจักรไทยร่ำไห้ด้วยเหตุผลหลายประการ เราสูญเสียหนึ่งในเสาหลักสำคัญของประเทศ เรายังเสียพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในฐานะพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประชาชนยาวนานที่สุดในโลก แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการที่คนไทยนั้นได้สูญเสีญ “พ่อ” ของแผ่นดินที่ทรงมีพระคุณกับคุณกับเราเป็นอย่างมาก ท่านทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยตลอดระยะเวลาการครองราชย์ของท่าน ถึงแม้ว่าเราอาจจะสูญเสีญในหลวงของเราไป แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลนั้นจะอยู่ในหัวใจเเละความทรงจำของชาวไทยทุกคนตลอดไป …. ❤️

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วันแม่แห่งชาติ


วันเเม่เเห่งชาติ


เมื่อถึงวันสำคัญที่ลูกๆ ทุกคนจะลืมไม่ได้เลย นั่นก็คือวันแม่แห่งชาติ  ซึ่งเป็นวันที่เราทุกคนต่างแสดงความรักที่มีต่อแม่ ให้แม่ได้รู้ว่าเรารักแม่มากมายขนาดไหน ซึ่งที่จริงแล้วเราควรที่จะแสดงความรักต่อแม่ทุกวันทุกเวลาเลยนะค่ะ  ในวันนี้ก็เป็นวันดีเราก็เลยได้นำเอาคำอวยพรวันแม่มาให้ลูกๆ ทุกท่านได้เอาไปใช้มอบให้คุณแม่กันค่ะ  สายใยรักระหว่างคุณกับแม่จะได้เหนียวแน่นและคุณแม่จะได้ภูมิใจที่ลูกน้อยคนนี้นักแม่มากมายขนาดไหน 

แม่คือพระที่สร้างลูกให้เกิดมา
เลี้ยงลูกยาตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่
แม่ไม่เคยทิ้งลูกน้อยไปไหนไกล
สอนลูกให้เป็นคนดีของสังคม

                                สัญลักษณ์ของวันเเม่



ดอกมะลิ ดอกไม้สัญลักษณ์ประจำวันแม่ ความหมายของดอกมะลิ รูปดอกมะลิวันแม่ ดอกไม้ดอกเล็ก ๆ สีขาวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดมอย่าง "ดอกมะลิ" ถูกนำมาใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ "วันแม่" เพราะดอกมะลิเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกน้อยไม่มีวันเสื่อมคลาย http://dmc.tv/a18505


วันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

มหาวิทยาลัยที่เปิดคณะศึกษาศาสตร์


    สวัสดีครับ วันนี้ พี่จะขอแนะนำ มหาวิทยาลัยที่เปิดคณะศึกษาศาสตร์นะครับป๋ม 
สำหรับน้องที่มีความฝัน จะได้รู้ว่า สถาบันต่อไปนี้เปิดด้วยนะ เหมือนรู้แล้วว่าเปิดที่ไหน ขอให้น้องๆทำตามความฝันตัวเองนะครับ

ภาคเหนือ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
 คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย


ภาคกลาง
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย  (พุทธศาสตรบัณฑิต ครุศาสตร์)
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลียบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม
คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี


ภาคอีสาน
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วิทยาลัยการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
คณะครุศาสตร์     มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
คณะครุศาสตร์  มหาวิยาลัยราชภัฏเลย
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม


ภาคตะวันออก
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏฉะเชิงเทรา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
คณะครุศาสตร์    มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


ภาคใต้
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
คณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช



กลุ่มสถาบันเทางามสัมพันธ์

การศึกษาบัณฑิต:กศ.บ จะเป็นปริญญาบัตรที่สืบเนื่องมาด้วยประวัติความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยที่เคยเป็น วิทยาลัยวิชาการศึกษา และเป็นมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ ในทุกภูมิภาค ที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นถึง ความเป็นเลือดของนิสิตศึกษาศาสตร์ที่ล้วนมีของสถาบันซึ่งเป็นสีเทาร่วมกัน ซึ่งมีด้วยกัน 5 มหาวิทยาลัยด้วยกัน ดั้งนี้
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (เทา-แดง)
มหาวิทยาลัยทักษิณ (เทา-ฟ้า)
มหาวิทยาลัยบูรพา (เทา-ทอง)
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (เทา-เหลือง)
มหาวิทยาลัยนเรศวร (เทา-แสด)

กลุ่มสถาบันไม้เรียวเกมส์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยบูรพา

กลุ่มสถาบันกระดานดำสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มหาวิทยาลัยนเรศวร
เพิ่มเติม
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ที่เปิดสอนวิชาด้าน ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
(ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
(ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
(ครุศาสตร์อุตสาหกรรม : ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น (ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
(ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร
(ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)
คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
(ครุศาสตร์อุตสาหกรรม:ค.อ.บ.)

แถมจ้า
ในระบบแอดมิชชั่น จะได้สัดส่วน
คณะครุศาสตร์ , คณะศึกษาศาสตร์
รูปแบบที่ 1 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 20% และ PAT 5 30%
รูปแบบที่ 2 GPAX 20% , O-NET 30% , GAT 10% , PAT 5 20%
และ PAT 1/2/3/4/6/7 (เลือก 1 วิชา) 20%

หลังจากทีน้องรู้แล้วว่าที่ไหนเปิดบ้าง ขอให้น้องๆไปดูว่าในคณะนั้นๆ มีเอกหรือสาขาที่เราอยากเข้าหรือเปล่าและขอให้ตั้งใจนะ ถ้าเราจะเป็นครูสอนคนอื่น เราต้องสอนตัวเองให้ได้ก่อน 
แล้วพี่จะมาลงให้ว่า ที่ไหนเปิดสาขาอะไรบ้างนะครับ
แต่ที่พี่ลง อาจจะไม่ครบทุกสถาบันนะครับ น้องๆคนไหนรู้ว่าเปิดที่ไหนอีก สามารถทักมาหาได้ได้เลยนะครับ ขอบคุณครับ

ที่มา http://www.newnaew.net/
และ https://th.wikipedia.org

แนะนำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตอนที่1
https://blog.eduzones.com/ezcampus/150035
แนะนำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทายาลัยขอนแก่น
https://blog.eduzones.com/ezcampus/150271

สามารถติดตามข่าวการศึกษาเพิ่มเติม
https://www.facebook.com/groups/admissionez/

ฝากติดตามเพจพี่ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/nutkungnuttapong

เพจเว็บ eduzones
https://www.facebook.com/eduzonesdotcom?fref=ts

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2559

10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย

10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
12 ธันวาคม 2557 19:35 น.
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        หลายคนคงจะเคยเห็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยจากหลายสถาบันชื่อดัง ทั้งอันดับโลก และอันดับของเอเชีย หรือแม้แต่อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ซึ่งจากผลการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยโลก สำหรับมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับส่วนใหญ่จะเป็นมหาวิทยาลัยรัฐบาลแทบทั้งสิ้น แล้วถ้าเป็นในส่วนของมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย จะมีที่ไหนกันบ้าง? วันนี้ Life on campus มี 10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2557 มาให้ได้ชมกัน เรียงลำดับจากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั้งหมดในประเทศไทยโดย webometrics สถาบันจัดอันดับจากประเทศสเปน ไปดูกันว่า มีมหาวิทยาลัยเอกชนไหนติดอันดับกันบ้าง...
      
       เกณฑ์การประเมินของ webometrics มีดังนี้
       
       1. PRESENCE (20%) = เนื้อหาการตีพิมพ์, จำนวนเว็บเพจ จากเว็บไซต์ทั้งหมด รวมทั้งเว็บแบบไดนามิก (วัดด้วย Google)
      
       2. OPENNESS (15%) = จำนวนแฟ้มข้อมูล หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทั้งหมดที่อยู่ภายในdomainเดียวกัน ในรูปของ Acrobat (pdf), PostScript (ps), MS Word (doc), MS Powerpoint (ppt), MS Excel (xls) 
      
       3. IMPACT (50%) = จำนวนexternal links ที่ได้รับ (inlinks) มีการเชื่อมโยงหรืออ้างอิงมาจากภายนอก สืบค้นโดยใช้ search engines เช่น Yahoo และใช้ syntax ในการค้น
      
       4. EXCELLENCE (15%) = จำนวนบทความวิชาการ และการอ้างอิงบทความทางวิชาการ ที่ปรากฎภายใน domain ของมหาวิทยาลัย และสามารถสืบค้นได้ด้วย google scholar 
      
       อันดับ 10 : มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Huachiew Chalermprakiet University)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        อันดับ 10 เป็นของมหาวิทยาลัยที่มีรากฐานมาจากพลังศรัทธา และการบรรเทาสาธารณภัยเพื่อมวลชน ของ “มูลนิธิฮั้วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่เดิมได้ก่อกำเนิดมาจากโรงเรียนผดุงครรภ์อนามัย และได้มาตั้งเป็น “วิทยาลัยหัวเฉียว” โดยเปิดสอนหลักสูตรพยาบาล ในระดับปริญญาตรีเป็นหลักสูตรแรก ก่อนที่จะได้รับการยกสถานะเป็น “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวได้ขยายหลักสูตรการศึกษาออกไปมากมาย ทั้งในระดับปริญญาตรี โท เอก และหลักสูตรนานาชาติให้ได้เลือกศึกษากัน โดยในปี 2557 นี้มหาวิทยาลัยหัวเฉียวอยู่ในอันดับที่ 50 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย 
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.hcu.ac.th
      
       อันดับ 9 : มหาวิทยาลัยศรีปทุม (Sripatum University)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        มหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดังที่ได้ขยายวิทยาเขตออกไปมากมาย และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีอย่างมหาวิทยาลัยศรีปทุม ที่ผลจากการสำรวจและจัดอันดับโดยWebometrics มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย มหาวิทยาลัยศรีปทุมอยู่ในอันดับที่ 48 เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้รับการเปลี่ยนสถานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2530 มีทั้งหมด 4 วิทยาเขตด้วยกันคือ วิทยาเขตบางเขน วิทยาเขตชลบุรี วิทยาคารพญาไท และวิทยาเขตขอนแก่น โดยเปิดสอนตั้งแต่หลักสูตรปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก รวมทั้งมีสาขาวิชาให้เลือกมากมายในแต่ละหลักสูตรอีกด้วย 
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.spu.ac.th
      
       อันดับ 8 : มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต (Kasem Bundit University)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        ตามมาติดๆ ด้วยมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ที่ในปีนี้ติดอยู่ในอันดับที่ 47 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากwebometrics ที่ปัจจุบันได้พัฒนาหลักสูตรและสาขาวิชาต่างๆ มากมาย ซึ่งก่อนจะมาจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ได้เริ่มดำเนินการเปิดเป็นโรงเรียนในระดับประถม และมัธยมศึกษา มาก่อน จากนั้นค่อยพัฒนามาเป็นในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ และวิชาชีพชั้นสูง เรื่อยมาจนกลายมาเป็น“วิทยาลัยเกษมบัณฑิต” เปิดสอน 2 สาขาคือ คณะบริหารธุรกิจ และคณะนิติศาสตร์ จนเมื่อปี พ.ศ. 2536 จึงได้เปลี่ยนเป็น“มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต” เปิดสอนในระดับปริญญาตรี 10 คณะ รวมทั้งหลักสูตรภาษาอังกฤษ 4 หลักสูตร, ปริญญาโท 12 หลักสูตร และปริญญาเอกอีก 2 หลักสูตร ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมีทั้งสิ้น 2 วิทยาเขตด้วยกันคือ วิทยาเขตพัฒนาการ และ วิทยาเขตร่มเกล้า
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : kbu.ac.th/event/Father_2014/
      
       อันดับ 7 : มหาวิทยาลัยพายัพ (Payap University)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        เรียกได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของภาคเหนือ ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ ก่อกำเนิดมาจากคริสต์ศาสนานิกายโปรเตสแตนทเข้ามาประกาศเผยแพร่ครั้งแรกในประเทศไทย เริ่มแรกใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยคริสเตียนพายัพ” ในปี พ.ศ. 2514 และเปลี่ยนมาเป็น “วิทยาลัยพายัพ” และเปิดสอนอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2517 โดยเปิดสอนทั้งหมด 8 สาขาวิชา คือ สาขาวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ดุริยศิลป์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญาศาสนา สังคมวิทยา-มานุษยวิทยา การบริหารงานบุคคล และอนุปริญญาพยาบาลและอนามัย ต่อมาจึงได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัยเปลี่ยนประเภทจากวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัย และเปลี่ยนชื่อมาเป็น “มหาวิทยาลัยพายัพ” ในปี พ.ศ.2527 เป็นต้นมา และจากการจัดอันดับwebometrics ในปี 2557 นี้ มหาวิทยาลัยพายัพ ติดอยู่ในอันดับที่ 44 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.payap.ac.th
      
       อันดับ 6 : มหาวิทยาลัยสยาม (Siam University)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        มหาวิทยาลัยสยาม หรือชื่อย่อ มส. เป็น 1 ใน 5 มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2508 เดิมชื่อว่า "วิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้เปลี่ยนสถานภาพเป็น"มหาวิทยาลัยเทคนิคสยาม" ต่อมาตัดคำว่าเทคนิคออกจึงเหลือเพียง "มหาวิทยาลัยสยาม" มาจนถึงปัจจุบัน ครั้งแรกที่เปิดการสอนสาขาช่าง มีเพียงช่างเครื่องยนต์หลักสูตรอนุปริญญา เท่านั้น ปัจจุบันเปิดสอนหลากหลายคณะและสาขาวิชาทั้งหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ รวมทั้งสิ้นกว่า 50 หลักสูตร ตั้งแต่ปริญญาตรี จนถึงปริญญาเอก โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยามเป็นคณะเภสัชศาสตร์แห่งแรกของมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นหลักสูตร 6 ปี ชื่อปริญญาภาษาอังกฤษเป็น“Doctor of Pharmacy” ใครสนใจสามารถเข้าไปดูรายละเอียดหลักสูตรที่เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยได้เลย
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.siam.edu
      
       อันดับที่ 5 : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (Mahanakorn University of Technology)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร" (มทม.) หรือ "Mahanakorn University of Technology" (MUT) แต่เดิมจัดตั้งขึ้นโดยใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยมหานคร” ในปี พ.ศ. 2533 เนื่องจากช่วงนั้นเป็นยุคที่ประเทศไทยขาดแคลนวิศวกร โดยเปิดดำเนินการสอนเพียงหนึ่งคณะวิชา คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ต่อมาได้รับการอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยในวันที่ 30 มีนาคม 2535 ในนาม "มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร" นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับการเปลี่ยนประเภทเป็นมหาวิทยาลัยเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วยเวลาเพียง 4 ปี ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครเปิดดาเนินการสอน คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และคณะบริหารธุรกิจ แต่ก็ยังคงชื่อเสียงในในการผลิตบัณฑิตคุณภาพด้านวิศวกรรมเสมอมา จนถึงปัจจุบัน โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครอยู่ในอันดับที่ 33 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากการจัดอันดับโดย webometrics ประจำปี 2557
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.mut.ac.th
      
       อันดับ 4 : มหาวิทยาลัยหอการค้า (University of the Thai Chamber of Commerce)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        อันดับ 4 เป็นของ “มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย” สถาบันการศึกษาชั้นนำด้านธุรกิจในเอเชีย ที่ทุกคนก็ปฏิเสธไม่ได้สำหรับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับเทียบเท่ากับมหาวิทยาลัยของรัฐบาลเลยทีเดียว และยังเป็นอีกหนึ่งมหาวิทยาลัยเอกชนที่ได้รับการรันตีว่า นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยหอการค้ามีอัตราในการจ้างงานที่ค่อนข้างสูง โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีประวัติการก่อตั้งที่ยาวนาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2483 ใช้ชื่อ"วิทยาลัยการค้า" จนได้ย้ายมาอยู่ในสังกัดของทบวงมหาวิทยาลัย และได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยในชื่อใหม่ว่า "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" (The University of the Thai Chamber Commerce) อักษรย่อมกค. หรือ UTCC โดยในปีนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ติดอยู่ในอันดับที่ 31 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก รวมทั้งหลักสูตรนานาชาติอีกด้วย
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.utcc.ac.th
      
       อันดับ 3 : มหาวิทยาลัยรังสิต (Rangsit University)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        1 ใน 3 ของมหาวิทยาลัยเอกชนชั้นนำของประเทศไทย คงจะพลาดไม่ได้กับมหาวิทยาลัยแถวหน้าอย่าง “มหาวิทยาลัยรังสิต” ที่ได้รับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ให้เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการจัดให้อยู่ในระดับ“ดีมาก” ในกลุ่มสถาบันที่เน้นการผลิตบัณฑิต และยังติดอยู่ในอันดับที่ 30 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากการจัดอันดับของ webometrics ประจำปี 2557 อีกด้วย มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2528 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยรังสิตมีหลักสูตรที่เปิดสอนทั้งหมด 138 สาขาวิชา ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาเอก และยังเป็นมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ที่ขึ้นชื่อว่ามีศิลปิน นักร้อง นักแสดงชื่อดังมากมาย ที่จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแห่งนี้
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.rsu.ac.th
      
       อันดับ 2 : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (Bangkok University)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        มาถึงอันดับ 2 ที่เบียดกันมากับมหาวิทยาลัยรังสิต จากอันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ในอันดับที่ 29 ตกเป็นของ“มหาวิทยาลัยกรุงเทพ” เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีชื่อเสียงและเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ อยู่ภายใต้การสนับสนุนของ "มูลนิธิมหาวิทยาลัยกรุงเทพ" โดยได้เปิดดำเนินการสอนตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ปัจจุบันได้พัฒนาขึ้นมาเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนแถวหน้าของประเทศไทยได้สำเร็จ จากการพัฒนาหลักสูตร และได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการเรียนการสอน เปิดทำการสอนใน 2 วิทยาเขตคือ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท และวิทยาเขตรังสิต ตั้งแต่หลักสูตรปริญญาตรี-เอก, International Program และหลักสูตรสองภาษา มาให้นักศึกษาได้เลือกกัน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เลย
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.bu.ac.th
      
       อันดับ 1 : มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (Assumption University of Thailand)
10 อันดับมหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในไทย
        สำหรับอันดับ 1 มหาวิทยาลัยเอกชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2557 ตกเป็นของ “มหาวิทยลัยอัสสัมชัญ” หรือที่เรียกกันติดปากว่า “เอแบค (ABAC)” และได้ใช้ตัวอักษรย่อในภาษาไทยว่า “มอช.” มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่มีระบบการสอนหลักสูตรนานาชาติ และมีจำนวนศาสตราจารย์มากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญยังเรียกได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่สวยงาม ตระการตาที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศอีกด้วย ไม่เพียงมีพื้นที่สวยแต่หลักสูตรการศึกษาก็น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะทุกคณะทุกสาขาจะเน้นการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เรียกได้ว่านักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยเอแบคจะขึ้นชื่อในเรื่องพื้นฐานทางด้านภาษาอังกฤษอยู่แล้ว และด้วยมาตรฐานระดับโลกจึงทำให้มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญติดอยู่ในอันดับที่ 18 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศไทย ประจำปี 2557 โดยทิ้งห่างอันดับ 2 และ 3 อย่างมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (อันดับที่ 29) และมหาวิทยาลัยรังสิต (อันดับที่ 30) อยู่พอสมควรเลยทีเดียว
      
       ข้อมูลเพิ่มเติม : www.au.edu
      
       ที่มา :www.webometrics.info/en/asia/thailand
      
       ภาพประกอบจาก : Internet
      
       ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ได้ที่ :campus.mgr2014@gmail.com